เมนู

คาถาที่ 8


28) สนฺทาลยิตฺวา สํโยชนานิ
ชาลํ เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี
อคฺคีว ทฑฺฒํ อนิวตฺตมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
เสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟไม่หวนกลับมาสู่
ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวรูปไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ 2 แห่งคาถาที่ 8 ดังต่อไปนี้.
สิ่งที่ทำด้วยด้วยท่านเรียกว่า ซาลํ ข่าย. บทว่า อมฺพุ คือ น้ำ.
ชื่อว่า อมฺพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น. บทนี้เป็นชื่อของปลา. ปลา
ย่อมเที่ยวไปในน้ำ จึงชื่อว่า สลิลมฺพุจารี. ท่านอธิบายว่า เหมือนปลา
ทำลายข่ายในน้ำฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ 3 ดังนี้. บทว่า ทฑฺฒํ ท่านกล่าวถึงที่
ที่ถูกไฟไหม้. อธิบายว่า ไฟที่ไหม้มิได้กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว คือว่าไม่
กลับมาไหม้ลามในที่นั้นอีก ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ไม่กลับมาสู่ที่
แห่งกามคุณ ที่ไฟคือมรรคญาณไหม้แล้ว คือว่าไม่หวนกลับมาในกามคุณ
นั้นอีก ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
คำว่า สญฺโญชนานิ มีวิเคราะห์ว่า กิเลสเหล่าใดมีอยู่แก่บุคคลใด
ก็ย่อมผูกพัน คือว่าย่อมร้อยรัดบุคคลนั้นไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น กิเลส
เหล่านั้นจึงชื่อว่า สังโยชน์. อนึ่ง ควรนำสังโยชน์เหล่านี้ มาตามลำดับของ
กิเลสบ้าง ตามลำดับของมรรคบ้าง คือ

กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.
มานสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.
ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.

ภวราคสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.
อิสสาและมัจฉริยะ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.
กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.
มานสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์ ละไว้ด้วย
อรหัตมรรค.

บทว่า ภินฺทิตฺวา คือ ทำลาย. บทว่า สมฺภินฺทิตวา ฉีก คือทำ
ให้เป็นช่อง. บทว่า ทาลยิตฺวา คือ แหวกไป. บทว่า ปทาลยิตฺวา
คือ ลอดไป. บทว่า สมฺปทาลยิตฺวา คือ ลอดออกไป.
จบคาถาที่ 8

คาถาที่ 9


29 ) โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาทโลโล
คุตฺตินฺทฺริโย รกฺขิตมานสาโน
อนวสฺสุโต อปริฑยฺหมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่เหลว-
ไหลเพราะเท้า มีอินทรีย์คุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว